ภาวะโลกร้อนกับก๊าซมีเทนใต้น้ำแข็ง

ภาวะโลร้อนกับก๊าซมีเทนใต้น้ำแข็ง

ผมมีโอกาสได้ดูรายการจับเข่าคุยตอนที่ ดร.อาจอง ชุมสาย ณ อยุธยา ท่านมาเป็นแขกรับเชิญ และก็ได้มีการพูดคุยเกี่ยวกับเรื่องภาวะโลกร้อน ซึ่งมีเนื้อหาที่น่าสนใจมากอยู่หลายเรื่อง วันนี้ผมขอยกเอาเรื่องของก๊าซมีเทนที่พบอยู่เป็นจำนวนมากในแถบเหนือของโลกมาเขียน เพื่อให้เพื่อนๆอ่านกันนะครับ ก๊าซมีเทนเป็นก๊าซเรือนกระจกที่มีความรุนแรงมากกว่าก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ถึง 23 เท่าตัวเลยทีเดียว และก็เป็นก๊าซที่มีส่วนที่ทำให้เกิดภาวะโลกร้อนอยู่ในตอนนี้ เป็นข่าวร้ายที่นัก วิทยาศาสตร์ได้พบก๊าซมีเทนจำนวนมากมายมหาศาลประมาณ 400,000 ล้านตัน อยู่ภาย ใต้น้ำแข็งทางแถบเหนือของไซบีเรีย และภาวะโลกร้อนก็กำลังทำให้น้ำแข็งละลาย จึงทำ ให้ก๊าซมีเทนพวกนี้กำลังค่อยๆถูกปล่อยออกมาทำลายชั้นบรรยากาศของโลกเรา

ก๊าซมีเทนพวกนี้มาจากไหน? ดร.อาจองท่านได้บอกว่า แต่ก่อนบริเวณขั้วโลกเหนือในปัจจุบัน ไม่ได้อยู่ที่ตำแหน่งนั้น ไม่มีน้ำแข็งปกคลุม จึงมีสัตว์และพืชมากมายอาศัยอยู่บริเวณนั้น แต่ เกิดเหตุการณ์ที่แกนโลกเปลี่ยนอย่างฉับพลัน จึงทำให้บริเวณนั้นกลายไปเป็นขั้วโลก และ และบางตัวยังมีหญ้าอยู่ในปากอุณหภูมิก็ลดลงอย่างรวดเร็ว จากประมาณ 20 องศาเซลเซียสขึ้นไป กลายเป็นติดลบกว่า 50 องศาในทันที สิ่งมีชีวิตทั้งหมดถูกแช่แข็งในทันที และเมื่อเวลาผ่านไปน้ำแข็งก็เริ่มปกคลุม หนาขึ้นเรื่อยๆ ตัวอย่างที่ให้เห็นก็มีร่างของช้างแมมมอธที่มนุษย์ขุดพบ ถูกน้ำแข็งแช่ไว้จึง ไม่่เน่า เพราะว่าถูกแช่แข็งในทันทีขณะที่ยังกินอาหารอยู่

เมื่อซากของสิ่งมีชีวิตมากมายถูกฝังไว้ใต้น้ำแข็ง จึงทำให้เกิดก๊าซมีเทนจำนวนมากเกิดขึ้น แต่ก็ขึ้นมาสู่ผิวโลกไม่ได้เพราะว่าถูกชั้นน้ำแข็งกักเก็บไว้ แต่ปัจจุบันภาวะโลกร้อนทำให้ น้ำแข็งบริเวณขั้วโลกเริ่มละลาย ก๊าซมีเทนพวกนี้กำลังค่อยๆถูกปล่อยออกมาสู่ชั้นบรรยากาศ และจะเป็นอีกตัวการที่เร่งให้เกิดความรุนแรงของภาวะโลกร้อนที่มากขึ้น

ถ้าพวกเรายังไม่ช่วยกันลดภาวะโลกร้อนตอนที่ยังมีเวลา มนุษย์อย่างเราอาจจะต้องตกอยู่ใน สถาณการณ์เดียวกับช้างแมมมอธก็ได้ ไม่แน่ในอนาคตอาจจะมีใครขุดพบคุณถูกแช่แข็งไว้ และก็ยังมีอาหารอยู่ในปากก็เป็นได้ คราวหน้าผมจะเอาเรื่องที่แกนโลกมีโอกาสเปลี่ยนแปลง เพราะภาวะโลกร้อนมาให้เพื่อนๆได้อ่านกันนะครับ อันนี้น่ากลัวมากๆ

 

ที่มา:http://www.greentheearth.info/

  หน้าหลัก | โลกร้อนคือ | สาเหตุ | บทความ | ผลกระทบ | ติดต่อ
Free Web Hosting