วิธีลดโลกร้อน

"ถนนแสงอาทิตย์" ผลิตไฟฟ้าเลี้ยงชุมชน

 

 

 

 

 

"ถนนแสงอาทิตย์" ผลิตไฟฟ้าเลี้ยงชุมชน (ข่าวสด)

 

โดย  วิทยา ผาสุก (wittayapasuk.wordpress.com)

ข่าวเทคโนโลยียุคใหม่จากสหรัฐอเมริกา รายงานว่า นายสกอตต์ บรูซอว์ ผู้ก่อตั้งบริษัทโซลาร์ โรดเวย์ส ในเมืองเซเกิล รัฐไอดาโฮ กำลังคิดการณ์ใหญ่ ภายหลังจากทำแผนงานธุรกิจเสนอรัฐบาลว่า มีโครงการสร้างแผงเซลล์สุริยะ หรือ โซลาร์เซลล์ชนิดพิเศษฝังติดอยู่กับพื้นผิว "ถนนหลวง" เพื่อใช้ผลิตกระแสไฟฟ้า หล่อเลี้ยงชุมชนที่ถนนตัดผ่าน ช่วยลดการนำ "น้ำมัน" มาผลิตกระแสไฟ!

ล่าสุด กระทรวงพลังงานสหรัฐยอมอนุมัติงบฯ พัฒนา "นวัตกรรม" ดังกล่าวออกมาแล้วก้อนแรก 100,000 ดอลลาร์ หรือราวๆ 3.5 ล้านบาท

แม้ไม่มากไม่มาย แต่ก็ช่วยให้ความฝันในการสร้างต้นแบบ "ถนนพลังแสงอาทตย์" ของนายบรูซอว์ก้าวหน้าไปอีกขั้น

บรูซอว์อธิบายว่า แผงเซลล์สุริยะแต่ละชิ้นที่จะปูลงไปบนถนนนั้นมีขนาด 12x12ฟุต

พื้นผิวด้านบนเป็นกระจกพิเศษ ทนแรงบดขยี้ของยวด ยานพาหนะได้เหมือนวัสดุที่สร้างถนนหลวงในปัจจุบัน

ส่วนข้างใน ติดตั้ง "ชิพคอมพิวเตอร์" ขนาดเล็กเอาไว้เพื่อคอยควบคุมระบบการทำงาน ซึ่งเซลล์สุริยะทุกชิ้นเป็นเอกเทศ ฉะนั้นถ้าชิ้นไหนเสียชิ้นอื่นๆ ก็ยังทำงานต่อไป

การคำนวณเบื้องต้น เซลล์สุริยะ 1 ชิ้น ผลิตไฟฟ้าได้ 7.6 กิโลวัตต์/ชั่วโมง

ถ้านำไปปูลงบนผิวถนน 4 เลน รวมระยะทาง 1 ไมล์ หรือ 1.6 กิโลเมตรเศษๆ เซลล์สุริยะทั้งหมดจะผลิตกระแสไฟฟ้าส่งไปตามสาย ป้อนตึกรามบ้านช่องในอาณาบริเวณนั้นๆ ได้ 500 หลังคาเรือน

ฟังก์ชันเด่นอีกอย่างของเซลล์สุริยะรุ่นนี้ ก็คือ จะมีหลอดไฟ "LED" ฝังอยู่ด้วย สามารถตั้งโปรแกรมคำสั่งให้แสดง "ตัวอักษร-สัญญาณ" แจ้งเตือนข้อมูลจราจรให้ผู้ใช้รถใช้ถนนได้รับทราบ

ครงการนี้ว่ากันจริง ๆ แล้วระดับ "งานช้าง" นะครับ เพราะถ้าจะติดตั้งเข้ากับถนนหลวงทั่วสหรัฐ ต้องใช้เซลล์สุริยะมหาศาล 5 พันล้านชิ้น ขณะที่ราคาต้นทุนแต่ละชิ้นตกหลักแสนกว่าบาท แต่บรูซอว์มองว่าระยะยาวจะช่วยให้สหรัฐลดการนำเข้า-พึ่งพาพลังงานจากต่างประเทศ

ถ้าเลือกพื้นที่และลดขนาดโครงการลงมาให้เหมาะสม ก็ไม่แน่ในอนาคตอันใกล้เราอาจเห็นฝันของบรูซอว์กลายเป็นจริง!


ขอขอบคุณข้อมูล และภาพประกอบจาก

 

 

วันจันทร์ที่ 31 สิงหาคม พ.ศ. 2552


  หน้าหลัก | โลกร้อนคือ | สาเหตุ | บทความ | ผลกระทบ | ติดต่อ
Free Web Hosting