ข่าวสารภาวะโลกร้อน

ต้องให้โลกแตกก่อนรึ?

ต้องให้โลกแตกก่อนรึ? (ไทยรัฐ)

โดย วีรพจน์ อินทรพันธ์

ต้องลุ้นกันจนหยดสุดท้ายสำหรับการประชุมผู้นำและตัวแทนจาก193ประเทศ ว่าด้วยเรื่องสภาพอากาศเพื่อรับมือภาวะโลกร้อน ที่กรุงโคเปนเฮเกนของเดนมาร์ก ระหว่างวันที่ 7-18 ธ.ค. ที่ผ่านมา

การประชุมด้านสิ่งแวดล้อมครั้งใหญ่สุดในรอบ60 ปี ของมนุษยชาติ เต็มไปด้วยเสียงด่าขรมจากหลายฝ่ายทั้งกลุ่มองค์กรเอ็นจีโอ นักวิเคราะห์ สื่อมวลชน ฯลฯ ตลอดงานว่าไม่ได้อะไรเป็นชิ้นเป็นอัน เพราะแต่ละประเทศเอาแต่เกี่ยงภาระกัน ตามนิสัยแง่ลบของคน "เอ็งไม่ทำ แล้วไยข้าต้องทำ"

ยังดีที่การประชุมสามารถคลาย "ปมขัดแย้ง" ลงได้บ้างในวันสุดท้าย หลังสหรัฐฯยื่นข้อเสนอยอมลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกลง17 เปอร์เซ็นต์ ภายใน 10 ปี และเพิ่มไปจนถึง 42 เปอร์เซ็นต์ ภายใน20 ปี พร้อมตกลงมอบเงินทุนรับมือโลกร้อนแก่ประเทศกำลังพัฒนาจำนวน 10,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯต่อปี ตั้งแต่ปี 2553 ถึง 2555ก่อนเพิ่มเรื่อยๆจนถึง 100,000 ล้านดอลลาร์ต่อปี ใน2573 ใต้เงื่อนไขว่ากลุ่มประเทศพัฒนาแล้วอื่น ๆ ต้องมีส่วนร่วมด้วย ขณะที่กลุ่มประเทศกำลังพัฒนาบางชาติรวมถึงจีน ี้ ยังไม่ได้ข้อตกลงที่สวยหรูอย่างที่ตั้งเป้าไว้ ต้องไปหาข้อสรุปอีกรอบในการประชุมที่เม็กซิโก เดือน พ.ย. ปีหน้า ซึ่งหากยังไม่เป็นรูปเป็นร่าก็ยื่นข้อเสนอยินยอมให้สหประชาชาติตรวจสอบการปล่อยก๊าซไม่ให้เกินเป้าที่ กำหนดไว้ พร้อมส่งเอกสารมาให้ตรวจสอบทุกๆ 2 ปี

แต่สำหรับการร่างข้อ ตกลงฉบับใหม่แทน "พิธีสารเกียวโต" ข้อตกลงฉบับเก่าที่จะหมดอายุในปี 2555 น

งไปจนถึงระยะเวลาหมดอายุ ก็อาจมีการต่ออายุสัญญาฉบับเก่าไปอีก

อย่างไรก็ตาม เอกสารปกปิดขององค์การสหประชาชาติฉบับหนึ่ง ที่ลงบันทึกใน 15ธ.ค. ระบุว่า แม้นานาชาติจะทำตามสัญญาลดปล่อยก๊าซเรือนกระจกลงเป็นจำนวนเปอร์เซ็นต์ตามที่ ตนเองกำหนด อุณหภูมิโลกก็ยังสูงขึ้น 3องศาเซลเซียสอยู่ดี ซึ่งกลุ่มนักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า หากเป็นเช่นนั้นประชากรทั่วโลกหลายร้อยล้านคนย่อมได้รับผลกระทบจากภาวะแห้ง แล้ง น้ำท่วม และพายุหนักหน่วงยิ่งขึ้น

นอกจากนี้ องค์กรอิสระต่างๆยังเปิดเผยผลการวิเคราะห์คาดความเสียหายจากภาวะโลกร้อน มาแล้วหลายครั้ง ทั้งเรื่องระดับน้ำทะเลที่จะสูงขึ้น สร้างความเสียหายให้แก่ชุมชนที่อาศัยอยู่ในบริเวณสามเหลี่ยมปากแม่น้ำ รวมถึงท่าเรือกว่าร้อยแห่งทั่วโลก คิดเป็นมูลค่าหลายพันล้านดอลลาร์สหรัฐฯ และเรื่องอุณหภูมิโลกที่สูงขึ้น จะทำให้ระบบนิเวศตามชายฝั่งเสียหาย ชาวประมงนับล้านได้รับผลกระทบ

ข้อมูลมีตรงหน้าแต่ทำไมไม่มีใครออกตัวรับภาระ ทั้งที่เห็นชัดอยู่แล้วว่าหากไม่ทุ่มแรงเสียแต่บัดนี้ ภายหน้าย่อมเหนื่อยกว่าหลายขุม?

 

ด้านกลุ่มนักจิตวิทยาจากหลายมหาวิทยาลัยชื่อดังในสหรัฐฯ เปิดเผยผลวิจัยร่วมที่น่าสนใจชิ้นหนึ่งระบุว่า สาเหตุหลักที่ทำให้มนุษย์ไม่ ตระหนักถึงอันตรายจากภาวะโลกร้อน เนื่องจากไม่เห็นกับตาตนเอง และรู้สึกว่าอยู่ไกลตัว ขณะที่พวกที่เริ่มตระหนักก็ถูกพฤติกรรมและความรู้สึกของตนบดบังจนเสียจุดยืน ไป เช่นแนวคิดว่า "ถึงช่วยรณรงค์ก็เสมือนน้ำซึมบ่อทราย ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้" หรือ "สุดท้ายนักวิทยาศาสตร์ย่อมหาทางออกได้แน่นอน ฉะนั้นจึงไม่ต้องทำอะไรมากนัก"

ขณะเดียวกัน ปัญหาอีกประการนอกเหนือจากความรู้สึกคือ ความพยายามเปลี่ยนประเด็นของกลุ่ม "เสียงส่วนน้อย แต่มีอิทธิพลสูง" อันได้แก่นายทุนและล็อบบี้ยิสต์ผู้รับผลประโยชน์จากธุรกิจหรือสัมปทานด้าน พลังงานโดยเฉพาะน้ำมันและก๊าซธรรมชาติ ที่ระบุว่า ภาวะโลกร้อนไม่ได้เกิดจากน้ำมือมนุษย์ แต่เป็นเพราะธรรมชาติเปลี่ยนแปลงเอง ซึ่งการจุดกระแสนี้มีคนจำนวนมากปักใจเชื่อ...ดูได้จากผลสำรวจความคิดเห็นของ ชาวอเมริกันที่จัดทำโดยสำนักข่าวซีเอ็นเอ็น มี 45เปอร์เซ็นต์เชื่อว่าโลกร้อนเกิดจากฝีมือคน ขณะที่ผลสำรวจความคิดเห็นจากทั่วโลกของมหาวิทยาลัยออกซ์ฟอร์ดชี้ว่า คน 37เปอร์เซ็นต์ รู้สึกกังวลต่อปัญหาสภาพอากาศ

หมายความว่า ขณะนี้ผู้คนจำนวนเกินกว่าครึ่งโลกยังไม่เชื่อว่าเรากำลังตกอยู่ในอันตรายงั้นหรือ?

หากเป็นเช่นนั้นจริงนับว่าน่าวิตกกังวลมาก และคงได้แต่หวังว่ารัฐบาลในประเทศต่างๆจะเร่งดำเนินการเสริมสร้างความรู้ ความเข้าใจแก่ประชาชน พร้อมนำปัญหาโลกร้อนยกเป็น "วาระแห่งชาติ" ทันที แต่การจะเปลี่ยนมุมมองของคนนั้นทำได้ยาก ต้องใช้ เวลาหลายปี ซึ่งเมื่อถึงจุดนั้นจะพูดว่าสายเกินไปก็ไม่แปลก

สงสัยคงต้องรอให้เหล่าผู้นำโลกอุทานออกมาว่า "พระเจ้าช่วย!" เหมือนในภาพยนตร์ภัยพิบัติทั้งหลายกระมัง ถึงจะเริ่มลงมือจริงจัง?

ขอขอบคุณข้อมูล และภาพประกอบจาก

 

 

วันศุกร์ที่ 25 ธันวาคม พ.ศ. 2552


 

 

 

 

 

  หน้าหลัก | โลกร้อนคือ | สาเหตุ | บทความ | ผลกระทบ | ติดต่อ
Free Web Hosting